ผลิตภัณฑ์ตำบล/ของดีในตำบลย่านซื่อ

ขนมจีนบ้านบางยี่นา

หมู่ที่ 5 ตำบลย่านซื่อ

ขนมจีนบ้านบางยี่นา หมู่ที่ 5 ตำบลย่านซื่อ

วงดนนตรีย้อนยุค "ลูกไทยมิวสิค"

วงดนตรี "รุ่งนภามิคสิค"

"กลุ่มอาชีพบัวสาย" บ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 4 ตำบลย่านซื่อ

"กลองยาวบ้านท้องคุ้ง" หมู่ที่ 4 ตำบลย่านซื่อ

 

 

วิสัยทัศน์การพัฒนา

“ ย่านซื่อน่าอยู่ สังคมดีมีคุณภาพ ควบคู่การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

แนวทางการพัฒนา

1. แนวทางที่ 1 ก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ ขยายเขตไฟฟ้า ไฟทางสาธารณะ ก่อสร้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล

2. แนวทางที่ 2 ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงถนนคันดิน/เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา

3. แนวทางที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ 4. แนวทางที่

4 เพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารให้แก่ประชาชน และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

5. แนวทางที่ 5 จัดฝึกอบรม จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ และสร้างศาลาเอนกประสงค์ ที่พักริมทาง และสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้

6. แนวทางที่ 6 พัฒนาบุคลากร เพิ่มงานด้านการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย

7. แนวทางที่ 7 เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด 8. แนวทางที่

8 จัดให้มีการบริการที่ดีได้มาตรฐานด้านสาธารณสุข

9. แนวทางที่ 9 การบริหารงานกองทุนสวัสดิการแบบบูรณาการ

10. แนวทางที่ 10 ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี

11. แนวทางที่ 11 การวางผังเมืองรวม/ชุมชน และการวางผังชุมชน

12. แนวทางที่ 12 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

13. แนวทางที่ 13 การจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล

14. แนวทางที่ 14 ส่งเสริมจัดเก็บข้อมูล ผู้สูงอายุ ผู้พิการ จัดหาความรู้ส่งเสริมอาชีพ

15. แนวทางที่ 15 การดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

16. แนวทางที่ 16 ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพความรู้ความสามารถของผู้บริหารท้องถิ่นและบุคลากรของอบต.

17. แนวทางที่ 17 จัดให้มีการบริหารกิจกรรมของอบต.

18. แนวทางที่ 18 จัดให้มีการบริหารด้านการเมือง

19. แนวทางที่ 19 สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนสนใจ และร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม การละเล่น ทำนุบำรุง ศาสนสถาน และกิจกรรมทางศาสนา

20. แนวทางที่ 20 การเฝ้าระวังและการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด

วิสัยทัศน์จังหวัด

“ อ่างทองเมืองน่าอยู่ แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ”

วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ

พระศรีเมืองทองคุ้มบ้าน หลวงพ่อสดโอฬาร ถิ่นฐานเกษตรกรรม ธรรมะครองใจ

นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น

1) ชุมชนมีความเป็นระเบียบ สาธารณูปโภค เป็นชุมชนน่าอยู่

2) ประชาชนมีอาชีพมั่นคง รายได้เพิ่มขึ้น สามารถเลี้ยงชีพ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3) ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคต่างๆ

4) ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ก้าวทันเทคโนโลยีและอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่

5) ตำบลเข้มแข็งปลอดยาเสพติด มีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

6) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

*********************************************

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ จัดตั้งเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 อยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง มีพื้นที่ประมาณ 7.571 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร และมีที่ตั้งอาณาเขต คือ ทิศตะวันออก ติดต่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลศาลาแดง / ตำบลป่างิ้ว เขตอำเภอเมืองอ่างทอง / ตำบลอินทประมูล เขตอำเภอโพธิ์ทอง ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลเทวราช เขตอำเภอไชโย ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลเมืองอ่างทอง

เนื้อที่ ตำบลย่านซื่อ มีเนื้อที่ทั้งหมด 7.571 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,732 ไร่

สภาพทั่วไป สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา มีคลองชลประทานไหลผ่านพื้นที่ทุกหมู่บ้าน พื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพภูมิอากาศมี 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม

จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลย่านซื่อ มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน และทุกหมู่บ้านอยู่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ทั้งสิ้น ซึ่งมีจำนวน 5 หมู่บ้าน มีดังนี้ คือ หมู่ที่ 1 บ้านย่านซื่อ หมู่ที่ 2 บ้านบางยี่นา หมู่ที่ 3 บ้านย่านซื่อ หมู่ที่ 4 บ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 5 บ้านบางยี่นา

ข้อมูลพื้นฐานด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ถนน ถนนกรมทางหลวง จำนวน 1 สาย

ถนนขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ จำนวน 27 สาย

สภาพถนน - คอนกรีต จำนวน 27 สาย ระยะทาง 19.700 กม. - ลาดยาง จำนวน 2 สาย ระยะทาง 0.700 กม. - ลูกรัง จำนวน 10 สาย ระยะทาง 10.000 กม.

ประปา ครัวเรือนที่ใช้บริการน้ำประปา จำนวน 1,008 หลังคาเรือน ครัวเรือนที่ยังไม่มี น้ำประปาใช้ จำนวน 33 หลังคาเรือน หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง น้ำประปาที่ผลิตได้ จำนวน 79 ลบ.ม. / วัน น้ำประปาที่ต้องการใช้ จำนวน 240 ลบ.ม. / วัน 

ไฟฟ้า ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 1,039 หลังคาเรือน ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 หลังคาเรือน ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน - ครัวเรือน

ถนนในเขต อบต. ที่มีไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 20 สาย ถนนในเขต อบต. ที่ไม่มีไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 5 สาย

แหล่งน้ำ หนองราดตาชา (เลยบ้านนายสมควร ยศสุนทร) ที่สาธารณะรางราดตาชา (ใกล้บ้านนายสมควร ยศสุนทร) หนองท้ายบุ้ง (สะพานปูน) หนองคลาน (ใกล้แปลงนาสาธิตนางรุ่งระวี) หนองห้วยจระเข้ (ไปทางบ้านหมวดโสภณ) หนองเกาะใหญ่ (ทางไปวัดน้ำอาบขุนอินทประมูล) หนองบางอีตาย (ใกล้บ้านเทิดไท้ ข้างบ้านนายชะลอ) บ่อบาดาล จำนวน 5 แห่ง แม่น้ำ (แม่น้ำเจ้าพระยา) จำนวน 1 แห่ง เขื่อน จำนวน 1 แห่ง

การระบายน้ำ ถนนที่ไม่มีราง / ท่อระบายน้ำ จำนวน 45 สาย ระยะทาง 20.80 กม.

บริเวณที่มีน้ำท่วมถึง 5 หมู่บ้าน ระยะเฉลี่ยที่น้ำท่วมขังนานที่สุด 90 วัน ประมาณช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคม สาเหตุของน้ำท่วมขังเกิดจาก อุทกภัย

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ ส่วนมากมีอาชีพรับจ้างทั่วไป และรับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมภายในจังหวัด และเขตจังหวัดใกล้เคียง ค้าขาย ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่มีอาชีพ และมีรายได้พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัว การไปมาติดต่อภายในตำบลมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนดินลูกรังเข้าถึงทั่วทุกหมู่บ้าน

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ

ปั๊มน้ำมัน และก๊าซ 3 แห่ง ร้านจำหน่ายอาหาร 11 แห่ง ร้านค้าขายปลีก 10 แห่ง ร้านขนมจีน 9 แห่ง ร้านซ่อมรถยนต์ / รถจักรยานยนต์ 3 แห่ง ร้านขายข้าวหลาม 1 แห่ง ร้านอัดฉีด 1 แห่ง ร้านเต็นท์รถเช่า 1 แห่ง ร้านเหล็กดัด 1 แห่ง โรงขายนกกระทา 1 แห่ง ร้านโต๊ะจีน 1 แห่ง ร้านปักผ้า 1 แห่ง ร้านขายผ้า 1 แห่ง ตัวแทนจำหน่ายเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร 1 แห่ง ห้องเช่า 16 แห่ง หมู่บ้านจัดสรร 1 แห่ง เกษตรกรรม

พื้นที่เกษตรทั้งหมด

1,871 ไร่ 3 งาน 87 ตารางวา พื้นที่ทำนา 1,390 ไร่ อื่น ๆ 850 ไร่ 3 งาน 87 ตารางวา

ปศุสัตว์ จำนวนสัตว์ในพื้นที่โดยประมาณ โค 250 ตัว สุกร 10 ตัว ไก่ 600 ตัว นก 80,000 ตัว

ประมง สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเอกชน 2 แห่ง

ด้านสังคม

ประชากร - ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 2,967 คน - จำนวนครัวเรือน จำนวน 1,041 ครัวเรือน -

จำนวนบ้านพักอาศัย จำนวน 1,041 บ้านพักอาศัย

สภาพทางสังคม

1. การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา (โรงเรียนวัดโบสถ์ประภาสวิทยาคาร) จำนวน 1 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง

2. สถาบัน และองค์กรทางศาสนา วัด / สำนักสงฆ์ ( วัดโบสถ์ ) จำนวน 1 แห่ง วัดร้าง ( วัดเสาธงทอง ) จำนวน 1 แห่ง

3. การสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 %

4. ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ป้อมยามตำรวจ จำนวน 1 แห่ง

ข้อมูลอื่นๆ

1. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้แก่ ลำคลอง ลำน้ำ หนองน้ำ ต้นไม้เบญจพรรณ 2. มวลชนจัดตั้ง - อปพร. จำนวน 44 คน - ตำรวจชุมชนประจำตำบลย่านซื่อ จำนวน 25 คน

หมวดหมู่รอง

องค์การบริหารส่วนตำบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
เขตการปกครอง
ของประเทศไทย
Emblem of Thailand.svg
การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

ปัจจุบัน ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มีองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น 5,334 แห่ง [1]

ดูรายชื่อเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบล

รูปแบบองค์การ[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

  1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน
  2. องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง|การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

การบริหาร[แก้]

กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

อำนาจหน้าที่ของ อบต.[แก้]

อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)

  1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
  2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
    1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
    2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
    3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
    4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
    7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
  3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
    1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
    2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
    3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
    4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
    5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
    6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
    7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
    8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
    9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
    10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
    11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
    12. การท่องเที่ยว
    13. การผังเมือง

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ[แก้]

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

  1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
  3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
  5. การสาธารณูปการ
  6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
  7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  9. การจัดการศึกษา
  10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
  11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  14. การส่งเสริมกีฬา
  15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
  17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
  19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
  21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
  23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
  24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  25. การผังเมือง
  26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
  27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
  28. การควบคุมอาคาร
  29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
  31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

โครงสร้างองค์กรของ อบต.[แก้]

อบต. มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล และ มีพนักงานประจำที่เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ทำงานประจำวันโดยมีปลัดและรองปลัด อบต. ผู้อำนวยการกอง เป็นหัวหน้างานบริหาร ภายในองค์กรมีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่างๆ ได้เท่าที่จำเป็นตามภาระหน้าที่ของ อบต.แต่ละแห่งเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ เช่น

  • สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
  • กองคลัง
  • กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  • กองช่าง
  • กองสวัสดิการสังคม

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2557. สืบค้น 28 สิงหาคม 2559.
  • พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลหน่วยงาน